วิปัสสนาญาณ 16

ญาณ คือ ปัญญา
ปัญญา คือ การเห็นตามความเป็นจริง (ไตรลักษณ์)

1-4 ญาณต้น

๑. นามรูปปริจเฉทญาณ หรือ ญาณหรือความรู้ความเข้าใจในรูปและนาม คือแยกออกด้วยความเข้าใจว่าสิ่งใดเป็นรูปธรรม อันสัมผัสได้ด้วยอายตนะทั้ง๕ อันมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย สิ่งใดเป็นนามธรรม อันเพียงสัมผัสได้ด้วยใจอย่างถูกต้อง เหล่านี้เป็นความเข้าใจขั้นพื้นฐานในการพิจารณาธรรมให้เข้าใจยิ่งๆขึ้นไป (เป็นการเห็นด้วยปัญญาว่า สักแต่ว่า นาม กับ รูป ไม่มีตัวตนแท้จริง) – เรียกง่ายๆว่าเห็น นาม รูป

๒. นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ ญาณที่เข้าใจในเหตุปัจจัยของการเกิดของรูปและนาม คือรู้เข้าใจว่านามและรูปว่าล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย พระอรรถกถาจารย์ในภายหลังๆเรียกว่าเป็น “จูฬโสดาบัน” คือพระโสดาบันน้อย ที่ถือว่าเป็นผู้มีคติหรือความก้าวหน้าอย่างแน่นอนในพระศาสนา (เห็นด้วยปัญญาว่า สิ่งทั้งหลายสักแต่ว่าเกิดแต่เหตุปัจจัย) – เห็นความเป็นเหตุเป็นปัจจัยกันจึงเกิดขึ้น

๓. สัมมสนญาณ ญาณพิจารณา เห็นการเกิด การตั้งอยู่อย่างแปรปรวน การดับไป คือเห็นด้วยปัญญาใน ความไม่เที่ยง,แปรปรวนและดับไปทั้งหลายตามแนวทางพระไตรลักษณ์นั่นเอง (เห็นด้วยปัญญาว่า สิ่งทั้งหลายสักแต่ว่า ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาไม่เป็นแก่นแกนแท้จริง) – เห็นพระไตรลักษณ์ แต่เห็นในอดีตที่เพิ่งจบไป หรือเห็นไตรลักษณ์ แต่จิตไม่ปิ๊งในมุมของไตรลักษณ์เลยต้องช่วยสอนจิตให้เข้าใจโดยมีสภาวะธรรมรองรับ (ไม่ใช่คิดเอาเอง)

๔. อุทยัพพยญาณ – ญาณอันเห็นการเกิด ตั้งอยู่ และดับไปของรูปและนาม คือพิจารณาจนเห็นตามความเป็นจริงในการการเกิดขึ้นและดับไปของรูปนามจนเห็นได้ด้วยปัญญาในปัจจุบันจิตหรือปัจจุบันธรรมคือในขณะที่เกิด ตั้งอยู่ และค่อยๆดับสลายลงไปทุกขณะต่อหน้าต่อตา ด้วยจิตที่ตั้งมั้ยและถึงฐาน (เห็นและเข้าใจสภาวะธรรมดังกล่าวในแง่ปรมัตถ์ เช่นเห็นสังขารขันธ์ความคิดที่ผุดว่าเพราะสังขารนี้จึงเป็นทุกข์ ไม่ใช่รายละเอียดปลีกย่อยของความคิดนั้นๆ และไม่ปรุงแต่งต่อในสิ่งที่เห็นนั้นๆด้วยถ้อยคิดใดๆ ดังการปฏิบัติในสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น)