กิจกรรม

ณ ศูนย์ไตรสิกขา

กิจกรรมที่ศูนย์ไตรสิกขาฟลอริดา:

ไตรสิกขาฟลอริดามีกิจกรรมตลอดปี รวมทั้งการร่วมปฏิบัติธรรมทุกวันอาทิตย์ ยกเว้นในช่วงที่มีคอรสเนกขัมมะ โดยไม่มีคำใช้จ่ายแต่อย่างไร หากท่านใดสนใจทราบตารางเวลาของกิจกรรมที่ศูนย์ไตรสิกขาฟลอริดา กรุณาติดตามได้ที่หน้าปฏิทินกิจกรรมของศูนย์ไตรสิกขาฟลอริดา

ไตรสิกขาฟลอริดา - Trisikkha Florida
ไตรสิกขาฟลอริดา - Trisikkha Florida10 hours ago
😇 📌แจ้งข่าวการจัดปฏิบัติธรรมจาก สำนักปฎิบัติธรรมศูนย์ไตรสิกขา plant city Florida USA ครับ🌻

🙏 ขอเรียนเชิญญาติธรรมที่สนใจเข้าร่วมปฏิบัติธรรมเนกขัมมะ 10 วัน เพื่อเรียนรู้กาย-ใจ และปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนเพื่อการพ้นทุกข์ขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า บรรยายธรรมโดย อ.วิลลี่ พุฒซ้อน สมัครฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย!

🍁คอร์ส 2 : คอร์สภาษาไทย รับทั้งคนใหม่และศิษย์เก่า (ภาษาอังกฤษ รับเฉพาะศิษย์เก่า)
25 พฤษภาคม - 3 มิถุนายน 2024
(ปฐมนิเทศ 24 พฤษภาคม | วันเดินทางกลับ 4 มิถุนายน)

🎄คอร์ส 3 : คอร์สภาษาอังกฤษ รับทั้งคนใหม่และศิษย์เก่า, ภาษาไทย รับเฉพาะศิษย์เก่า
29 มิถุนายน - 8 กรกฎาคม 2024
(ปฐมนิเทศ 28 มิถุนายน | วันเดินทางกลับ 9 กรกฎาคม)

📝ลงทะเบียน คลิกที่นี่ https://trisikkha.org/เนกขัมมะ/

- ทุกท่านต้องเข้าร่วมปฐมนิเทศ และต้องมาถึงศูนย์ก่อนเวลา 5 โมงเย็นของวันปฐมนิเทศ (5 PM EDT)
- เมื่อมาถึงศูนย์ หากท่านระบุวันกลับแก่ทีมงานแล้ว ท่านจะต้องเข้าร่วมคอร์สจนถึงวันที่ท่านระบุไว้ หากท่านขอกลับก่อนโดยที่ไม่ใช่เหตุผลสุดวิสัย ทางศูนย์ขอสงวนสิทธิ์ในการไม่รับท่านมาเข้าคอร์สที่ศูนย์อีกในอนาคต

🛑กรุณาอ่านกฎระเบียบแล้วยอมรับเงื่อนไขก่อนกดเลือกใบสมัครด้านท้าย
🏡สถานที่ Trisikkha Insight Meditation Center
4207 US 92, Plant City, Florida USA
💬 สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
โทร +1 (813) 473-2180
Facebook m.me/wimuttiflorida
LINE @trisikkha (มีเครื่องหมาย @)
#ปฏิบัติธรรม #สติ #สมาธิ #เนกขัมมะ #ไตรสิกขา #ศาสนาพุทธ
ไตรสิกขาฟลอริดา - Trisikkha Florida
ไตรสิกขาฟลอริดา - Trisikkha Florida13 hours ago
ปฏิทินกิจกรรมคอร์สเนกขัมมะของศูนย์ไตรสิกขาประจำปี 2567/2024 ทั้งศูนย์ฟลอริดา เพชรบุรี และแบบออนไลน์ จองวันหยุดกันล่วงหน้าไว้ได้เลยครับ
ไตรสิกขาฟลอริดา - Trisikkha Florida
ไตรสิกขาฟลอริดา - Trisikkha Florida23 hours ago
"ธรรมะเพื่อความพ้นทุกข์"

อริยมรรคอริยผลเกิดที่จิต
เวลาเราปฏิบัติ บางคนเริ่มจากดูกาย เจริญปัญญาด้วยการดูกาย บางคนเริ่มจากเวทนา บางคนดูจิตที่เป็นกุศลอกุศลอะไรอย่างนี้ แต่เวลาที่เราจะตัดกิเลส จิตรวมลงที่จิต ไม่ว่าจะเริ่มต้นมาจากกาย หรือเวทนา หรือจิต หรือธรรม เวลาที่จะเกิดอริยมรรคมันเกิดที่จิต ขณะที่เรารู้กายๆ นี่ล่ะ แต่เวลาที่อริยมรรคจะเกิด เกิดที่จิต ไม่ได้เกิดที่กาย กิเลสไม่ได้อยู่ที่ร่างกาย
เพราะฉะนั้นอย่างเราดูร่างกาย หรือเราดูเวทนา สุข ทุกข์ในกายในใจ หรือดูจิตที่เป็นกุศล อกุศล ดูเห็นเกิดดับๆ ไปเรื่อย ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ กายก็อยู่ในไตรลักษณ์ เวทนาก็อยู่ในไตรลักษณ์ สังขารปรุงดีปรุงชั่วก็อยู่ในไตรลักษณ์ เห็นซ้ำๆๆ ถึงจุดหนึ่งจิตมันจะรวมเข้ามา แล้วมันสรุปได้เองว่าทุกสิ่งทั้งรูปธรรมทั้งนามธรรมล้วนแต่ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ สภาวะทั้งหลายสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดดับเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้นจะรวมเข้ามาที่จิตแล้วเกิดปัญญาตัวนี้ขึ้นมา ไม่ใช่คิด ไม่ใช่ความคิด แต่จิตมันจะเข้าใจขึ้นมา สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดดับเป็นธรรมดา พอความรู้ตัวนี้เกิดขึ้น อริยมรรคก็เกิดขึ้น อริยผลก็เกิดขึ้นทันที เพราะฉะนั้นเกิดที่จิตนั่นล่ะ
อาสวกิเลสที่มันห่อหุ้มจิตอยู่มันเหมือนเปลือกหุ้มจิต แล้วมันซึมซ่าน หมักดอง ย้อมอยู่ในจิต มันจะถูกอาสวะทำลายออกไป มันจะแยกตัวออกไปจากจิต เหมือนเรามีบ่อน้ำ เหมือนเราไปเจอบ่อน้ำ แล้วบ่อน้ำนี้มี รู้จักแหนไหม แหน เขียวๆ เล็กๆ บางทีมันขึ้นเต็มบ่อเลย จนมองไม่เห็นน้ำ เรามีก้อนหินใหญ่ๆ ทุ่มโครมลงไป น้ำก็แหวกออก แหนเล็กๆ กระจายออกไป เราก็มองเห็นน้ำ ตอนที่อริยมรรคเกิดครั้งที่หนึ่ง มันก็จะแหวกออกไป เราก็จะเห็นตัวจิตจริงๆ ไม่ใช่จิตที่ถูกปกคลุมห่อหุ้มด้วยจอกแหน คืออาสวกิเลส จะเห็นตัวจริงของมัน ตัวจริงของมันใส กว้าง ไม่มีตัวมีตนอะไรหรอก
แล้วในไม่กี่ขณะจิต จอกแหนนี้ก็เข้ามาปิด อาสวะก็กลับเข้ามาปิดจิตอีก เราก็ทำสมถะ ทำวิปัสสนาของเราต่อไปอีก จนเราแหวกครั้งที่สอง แหวกออกไปแล้วมันก็เข้ามาปิดอีก ครั้งที่สามก็เข้ามาปิดอีก หลวงพ่อเคยถามหลวงปู่ดูลย์ หลวงปู่ครับ หลวงปู่ท่านใช้คำว่าจิตยิ้ม คือพอแหวกออกมา ธรรมชาติเดิมของจิตมันรู้ มันตื่น มันเบิกบานเต็มที่เลย หลวงปู่ดูลย์ท่านเรียกจิตยิ้ม ถามท่าน “หลวงปู่ครับ จิตยิ้มมันต้องเกิดกี่ครั้งครับ” หลวงปู่ก็นับ 1 2 3 ไม่ใช่ 1 2 3 4 – 4 ครั้ง พอครั้งที่สี่ มันเหมือนอุกกาบาตชนใส่เลย ตูม สลายไปหมดเลย แล้วไม่มีจอกแหนอะไรจะกลับมาปกปิดจิตใจได้อีกต่อไป จิตหลุดพ้นจากอาสวะ
จิตหลุดพ้นจากอาสวะได้เพราะอะไร เพราะความไม่ถือมั่น หมดความยึดถือในขันธ์ 5 หมดความยึดถือในขันธ์ 5 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หมดความยึดถือในจิต ในบรรดาขันธ์ 5 เวลาหมดความยึดถือ ไม่ได้หมดพร้อมกัน มันจะหมดความยึดถือในตัวรูปไปก่อน ภูมิจิตภูมิธรรมของพระอนาคามี จะหมดความยึดถือในร่างกาย ในรูป แล้วภาวนาเรื่อยๆ ไป จะหมดความยึดถือในจิตในขั้นสุดท้าย พอหมดความยึดถือในจิต เรียกว่ารู้แจ้งแล้วว่าขันธ์ 5 รวมทั้งจิตนั่นล่ะคือตัวทุกข์ นี่รู้อริยสัจ รู้อริยสัจ 4 ขันธ์ 5 คือตัวทุกข์ รูป นาม กาย ใจ ก็คือตัวทุกข์ พอเห็นแจ้งอย่างนี้มันจะวาง ขันธ์ 5 ซึ่งเราเห็นว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
พอถึงจุดที่มันวางแล้ว มันจะแปรสภาพเป็นว่าง มันมีอยู่แต่มันว่าง ไม่ใช่ไม่มี มีอยู่แต่ว่าง อย่างมองอย่างนี้ มีคนเยอะแยะ แต่ถ้าจิตมันหลุดพ้นไปแล้ว จิตมันวาง ปล่อยวางจิตได้แล้ว มันจะรู้สึกมันว่าง แล้วความว่างนี้ไม่เคยหายไปไหน ความว่างนี้ทั้งโลกธาตุ ตัวนี้ก็ว่าง จิตใจนี้ก็ว่าง แล้วเวลาที่จะตาย ธาตุขันธ์จะแตกจะดับ
คนที่เข้าถึงธาตุตัวนี้แล้ว เข้าถึงธรรมธาตุตัวนี้แล้ว เห็นความว่าง เห็นสุญญตาที่แท้จริง เห็นพระนิพพานที่แท้จริงแล้ว เขาจะไม่นั่งคิดหรอกว่าตายแล้วจะไปเกิดที่ไหน พระอรหันต์นิพพานแล้วจะไปมีสภาพเป็นอย่างไร จะไม่มีความคิดอย่างนั้นเกิดขึ้นหรอก ถ้ายังคิดว่า เอ๊ะ เราเป็นพระอรหันต์แล้ว เดี๋ยวนิพพานแล้วเราจะไปอย่างไร ญาติโยมทั้งหลายก็น้อมส่งสู่แดนนิพพาน ก็พวกไม่รู้เรื่องด้วยกันพูดด้วยกันนั่นล่ะ ที่จริงแล้วการสัมผัสพระนิพพานไม่ได้ไปไหนเลยๆ เมื่อไรที่เราวางขันธ์ 5 ลงไปได้ โดยเฉพาะการวางจิตลงไปแล้ว นิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตาอยู่แล้ว
นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นความยึดถือในขันธ์ 5 ไม่เข้าไปหยิบไปฉวยขันธ์ 5 เขาเรียกไม่มีชาติอีกต่อไปแล้ว เป็นสภาวะที่ไม่มีตัณหา เรียกว่าวิราคะ ปล่อยวางรูปนามได้ เป็นวิมุตติ ไม่มีความอยากใดๆ เกิดขึ้น เรียกวิราคะ ไม่มีความดิ้นรนปรุงแต่ง เรียกว่าวิสังขาร ความคิดมีอยู่ แต่มันเป็นอีกลักษณะหนึ่ง มันไม่ใช่เหมือนที่พวกเราคิด พวกเราคิดมันเจือด้วยความจงใจปรุงแต่งเข้าไป แต่อย่างถ้าพระอรหันต์คิด มันเหมือนสักแต่ว่าๆ สภาวะทั้งหลายมันสักแต่ว่าทั้งหมดล่ะ ฉะนั้นคำว่าสักว่าๆ เราพูดง่าย ภาวนากันปางตาย รอดตายมาถึงจะเจอ
เพราะฉะนั้นการปฏิบัติเริ่มจากจิตของเรา ฝึกจิตตัวเองให้มีเรี่ยวมีแรงก่อนแล้วไปเดินปัญญา แล้วมาตัดกิเลสที่จิต มาปล่อยวางที่จิต แล้วมาสัมผัสพระนิพพานที่จิต นี่ที่หลวงพ่อพูดว่าการปฏิบัติเริ่มมาจากจิตแล้วก็ไปจบลงที่จิต ถึงตรงนั้นไม่มีที่ต้องไปต่อ
ที่เล่าเรื่อยๆ ว่ามีพระในสมัยพุทธกาล ท่านคิดว่าท่านเป็นพระอรหันต์ แล้วท่านก็ประกาศวาทะว่าท่านรู้แล้วว่าพระอรหันต์นิพพานแล้วไปไหน เพื่อนพระด้วยกันก็รู้ว่าองค์นี้ยังไม่เข้าใจ พยายามบอก พยายามแก้ แก้ไม่ตก ไปนิมนต์พระสารีบุตรมาช่วยสอน พระสารีบุตรก็สอน สิ่งที่ท่านสอนคืออยู่ในอนัตตลักขณสูตรที่พระพุทธเจ้าสอนปัญจวัคคีย์ล่ะ ถามว่า “รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง” ท่านก็ดูตามไป “รูปไม่เที่ยง” “สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นสุขหรือเป็นทุกข์” “เป็นทุกข์” “สิ่งใดเป็นทุกข์ ควรยึดถือว่าเป็นเราไหม” “ไม่ควร” “เวทนาเที่ยงไหม สัญญา สังขาร สุดท้ายถึงตัววิญญาณ คือจิต จิตเที่ยงหรือไม่เที่ยง” “ไม่เที่ยง” เห็นแล้วจิตไม่เที่ยง “สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นสุขหรือทุกข์” “เป็นทุกข์” ตัวจิตนั่นคือตัวทุกข์ ไม่ใช่ตัวดีตัววิเศษ
การที่รู้แจ้งอย่างนี้สำคัญมากเลย แล้วสิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นควรเห็นว่าเป็นเราไหม ควรยึดถือไหม ไม่ควรยึดถือ ตรงที่ว่าไม่ควรยึดถือ จิตก็หมดความยึดถือจิต เมื่อจิตหมดความยึดถือจิต ขันธ์ 5 ซึ่งเป็นผลผลิตของจิต โลกธาตุทั้งหมดซึ่งปรากฏขึ้นมา จักรวาลทั้งหมดซึ่งปรากฏขึ้นมาเพราะมีจิตไปรู้เข้าก็พลอยล่มสลายลงไปหมดพร้อมๆ กันกับที่เราวางจิต ก็จะวางขันธ์ 5 วางโลก วางทุกสิ่งทุกอย่างพร้อมๆ กัน คราวนี้ไม่ต้องถามต่อเลย ตายแล้วไปไหน เพราะอะไร เพราะตรงที่วางขันธ์ 5 ลงไปแล้ว มหาสุญญตาเต็มเปี่ยมอยู่ตรงนั้นแล้ว พระนิพพานเต็มเปี่ยมอยู่ตรงที่วางขันธ์ 5 ลงไปแล้ว ไม่ต้องแสวงหาที่ไหนอีกแล้ว
สมัยที่หลวงพ่อยังภาวนา ตอนนั้นไม่ได้บวช ยังเคยคิดว่านิพพานแล้วต้องกำหนดจิตไม่ยึดไม่ถือ ไม่จับอะไรเลย ที่จริงมันก็เป็นสมาธิชนิดหนึ่ง ไม่ยึดทั้งอารมณ์ ไม่ยึดทั้งจิต แล้วก็ว่างๆ สมาธิอย่างนี้คล้ายนิพพานมากที่สุด ดีว่าเจอหลวงปู่บุญจันทร์ โดนท่านโขกกะโหลกเอา บอก “เฮ้ย นิพพานอะไรมีเข้ามีออก” โดนท่านด่าเอา ท่านดุ ไม่ใช่ท่านด่า ท่านดุ เฮ้ย นิพพานอะไรมีเข้ามีออก เฮ้ย เสียเสียงดังเลย หลวงพ่อก็เลยรู้ ถ้าเรายังกำหนดจิตอย่างนั้น กำหนดจิตอย่างนี้ กำหนดจิตไปนิพพาน อันนี้ของเก๊ แต่เมื่อไรเราสามารถวางขันธ์ 5 ลงไปได้ โดยเฉพาะปล่อยวางจิตได้ เราจะเห็นนิพพานมันอยู่ตรงนั้นแล้ว อยู่กับเรามาแต่ไหนแต่ไร แต่เราไม่เคยเห็นหรอก มันครอบโลกครอบจักรวาลอยู่ทั้งหมดนั่นล่ะ
สรุปก็คือเริ่มที่จิตแล้วก็ไปจบลงที่จิต

หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม
28 มกราคม 2567
ไตรสิกขาฟลอริดา - Trisikkha Florida
ไตรสิกขาฟลอริดา - Trisikkha Florida23 hours ago
"ธรรมะเพื่อความพ้นทุกข์"

อริยมรรคอริยผลเกิดที่จิต
เวลาเราปฏิบัติ บางคนเริ่มจากดูกาย เจริญปัญญาด้วยการดูกาย บางคนเริ่มจากเวทนา บางคนดูจิตที่เป็นกุศลอกุศลอะไรอย่างนี้ แต่เวลาที่เราจะตัดกิเลส จิตรวมลงที่จิต ไม่ว่าจะเริ่มต้นมาจากกาย หรือเวทนา หรือจิต หรือธรรม เวลาที่จะเกิดอริยมรรคมันเกิดที่จิต ขณะที่เรารู้กายๆ นี่ล่ะ แต่เวลาที่อริยมรรคจะเกิด เกิดที่จิต ไม่ได้เกิดที่กาย กิเลสไม่ได้อยู่ที่ร่างกาย
เพราะฉะนั้นอย่างเราดูร่างกาย หรือเราดูเวทนา สุข ทุกข์ในกายในใจ หรือดูจิตที่เป็นกุศล อกุศล ดูเห็นเกิดดับๆ ไปเรื่อย ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ กายก็อยู่ในไตรลักษณ์ เวทนาก็อยู่ในไตรลักษณ์ สังขารปรุงดีปรุงชั่วก็อยู่ในไตรลักษณ์ เห็นซ้ำๆๆ ถึงจุดหนึ่งจิตมันจะรวมเข้ามา แล้วมันสรุปได้เองว่าทุกสิ่งทั้งรูปธรรมทั้งนามธรรมล้วนแต่ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ สภาวะทั้งหลายสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดดับเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้นจะรวมเข้ามาที่จิตแล้วเกิดปัญญาตัวนี้ขึ้นมา ไม่ใช่คิด ไม่ใช่ความคิด แต่จิตมันจะเข้าใจขึ้นมา สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดดับเป็นธรรมดา พอความรู้ตัวนี้เกิดขึ้น อริยมรรคก็เกิดขึ้น อริยผลก็เกิดขึ้นทันที เพราะฉะนั้นเกิดที่จิตนั่นล่ะ
อาสวกิเลสที่มันห่อหุ้มจิตอยู่มันเหมือนเปลือกหุ้มจิต แล้วมันซึมซ่าน หมักดอง ย้อมอยู่ในจิต มันจะถูกอาสวะทำลายออกไป มันจะแยกตัวออกไปจากจิต เหมือนเรามีบ่อน้ำ เหมือนเราไปเจอบ่อน้ำ แล้วบ่อน้ำนี้มี รู้จักแหนไหม แหน เขียวๆ เล็กๆ บางทีมันขึ้นเต็มบ่อเลย จนมองไม่เห็นน้ำ เรามีก้อนหินใหญ่ๆ ทุ่มโครมลงไป น้ำก็แหวกออก แหนเล็กๆ กระจายออกไป เราก็มองเห็นน้ำ ตอนที่อริยมรรคเกิดครั้งที่หนึ่ง มันก็จะแหวกออกไป เราก็จะเห็นตัวจิตจริงๆ ไม่ใช่จิตที่ถูกปกคลุมห่อหุ้มด้วยจอกแหน คืออาสวกิเลส จะเห็นตัวจริงของมัน ตัวจริงของมันใส กว้าง ไม่มีตัวมีตนอะไรหรอก
แล้วในไม่กี่ขณะจิต จอกแหนนี้ก็เข้ามาปิด อาสวะก็กลับเข้ามาปิดจิตอีก เราก็ทำสมถะ ทำวิปัสสนาของเราต่อไปอีก จนเราแหวกครั้งที่สอง แหวกออกไปแล้วมันก็เข้ามาปิดอีก ครั้งที่สามก็เข้ามาปิดอีก หลวงพ่อเคยถามหลวงปู่ดูลย์ หลวงปู่ครับ หลวงปู่ท่านใช้คำว่าจิตยิ้ม คือพอแหวกออกมา ธรรมชาติเดิมของจิตมันรู้ มันตื่น มันเบิกบานเต็มที่เลย หลวงปู่ดูลย์ท่านเรียกจิตยิ้ม ถามท่าน “หลวงปู่ครับ จิตยิ้มมันต้องเกิดกี่ครั้งครับ” หลวงปู่ก็นับ 1 2 3 ไม่ใช่ 1 2 3 4 – 4 ครั้ง พอครั้งที่สี่ มันเหมือนอุกกาบาตชนใส่เลย ตูม สลายไปหมดเลย แล้วไม่มีจอกแหนอะไรจะกลับมาปกปิดจิตใจได้อีกต่อไป จิตหลุดพ้นจากอาสวะ
จิตหลุดพ้นจากอาสวะได้เพราะอะไร เพราะความไม่ถือมั่น หมดความยึดถือในขันธ์ 5 หมดความยึดถือในขันธ์ 5 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หมดความยึดถือในจิต ในบรรดาขันธ์ 5 เวลาหมดความยึดถือ ไม่ได้หมดพร้อมกัน มันจะหมดความยึดถือในตัวรูปไปก่อน ภูมิจิตภูมิธรรมของพระอนาคามี จะหมดความยึดถือในร่างกาย ในรูป แล้วภาวนาเรื่อยๆ ไป จะหมดความยึดถือในจิตในขั้นสุดท้าย พอหมดความยึดถือในจิต เรียกว่ารู้แจ้งแล้วว่าขันธ์ 5 รวมทั้งจิตนั่นล่ะคือตัวทุกข์ นี่รู้อริยสัจ รู้อริยสัจ 4 ขันธ์ 5 คือตัวทุกข์ รูป นาม กาย ใจ ก็คือตัวทุกข์ พอเห็นแจ้งอย่างนี้มันจะวาง ขันธ์ 5 ซึ่งเราเห็นว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
พอถึงจุดที่มันวางแล้ว มันจะแปรสภาพเป็นว่าง มันมีอยู่แต่มันว่าง ไม่ใช่ไม่มี มีอยู่แต่ว่าง อย่างมองอย่างนี้ มีคนเยอะแยะ แต่ถ้าจิตมันหลุดพ้นไปแล้ว จิตมันวาง ปล่อยวางจิตได้แล้ว มันจะรู้สึกมันว่าง แล้วความว่างนี้ไม่เคยหายไปไหน ความว่างนี้ทั้งโลกธาตุ ตัวนี้ก็ว่าง จิตใจนี้ก็ว่าง แล้วเวลาที่จะตาย ธาตุขันธ์จะแตกจะดับ
คนที่เข้าถึงธาตุตัวนี้แล้ว เข้าถึงธรรมธาตุตัวนี้แล้ว เห็นความว่าง เห็นสุญญตาที่แท้จริง เห็นพระนิพพานที่แท้จริงแล้ว เขาจะไม่นั่งคิดหรอกว่าตายแล้วจะไปเกิดที่ไหน พระอรหันต์นิพพานแล้วจะไปมีสภาพเป็นอย่างไร จะไม่มีความคิดอย่างนั้นเกิดขึ้นหรอก ถ้ายังคิดว่า เอ๊ะ เราเป็นพระอรหันต์แล้ว เดี๋ยวนิพพานแล้วเราจะไปอย่างไร ญาติโยมทั้งหลายก็น้อมส่งสู่แดนนิพพาน ก็พวกไม่รู้เรื่องด้วยกันพูดด้วยกันนั่นล่ะ ที่จริงแล้วการสัมผัสพระนิพพานไม่ได้ไปไหนเลยๆ เมื่อไรที่เราวางขันธ์ 5 ลงไปได้ โดยเฉพาะการวางจิตลงไปแล้ว นิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตาอยู่แล้ว
นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นความยึดถือในขันธ์ 5 ไม่เข้าไปหยิบไปฉวยขันธ์ 5 เขาเรียกไม่มีชาติอีกต่อไปแล้ว เป็นสภาวะที่ไม่มีตัณหา เรียกว่าวิราคะ ปล่อยวางรูปนามได้ เป็นวิมุตติ ไม่มีความอยากใดๆ เกิดขึ้น เรียกวิราคะ ไม่มีความดิ้นรนปรุงแต่ง เรียกว่าวิสังขาร ความคิดมีอยู่ แต่มันเป็นอีกลักษณะหนึ่ง มันไม่ใช่เหมือนที่พวกเราคิด พวกเราคิดมันเจือด้วยความจงใจปรุงแต่งเข้าไป แต่อย่างถ้าพระอรหันต์คิด มันเหมือนสักแต่ว่าๆ สภาวะทั้งหลายมันสักแต่ว่าทั้งหมดล่ะ ฉะนั้นคำว่าสักว่าๆ เราพูดง่าย ภาวนากันปางตาย รอดตายมาถึงจะเจอ
เพราะฉะนั้นการปฏิบัติเริ่มจากจิตของเรา ฝึกจิตตัวเองให้มีเรี่ยวมีแรงก่อนแล้วไปเดินปัญญา แล้วมาตัดกิเลสที่จิต มาปล่อยวางที่จิต แล้วมาสัมผัสพระนิพพานที่จิต นี่ที่หลวงพ่อพูดว่าการปฏิบัติเริ่มมาจากจิตแล้วก็ไปจบลงที่จิต ถึงตรงนั้นไม่มีที่ต้องไปต่อ
ที่เล่าเรื่อยๆ ว่ามีพระในสมัยพุทธกาล ท่านคิดว่าท่านเป็นพระอรหันต์ แล้วท่านก็ประกาศวาทะว่าท่านรู้แล้วว่าพระอรหันต์นิพพานแล้วไปไหน เพื่อนพระด้วยกันก็รู้ว่าองค์นี้ยังไม่เข้าใจ พยายามบอก พยายามแก้ แก้ไม่ตก ไปนิมนต์พระสารีบุตรมาช่วยสอน พระสารีบุตรก็สอน สิ่งที่ท่านสอนคืออยู่ในอนัตตลักขณสูตรที่พระพุทธเจ้าสอนปัญจวัคคีย์ล่ะ ถามว่า “รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง” ท่านก็ดูตามไป “รูปไม่เที่ยง” “สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นสุขหรือเป็นทุกข์” “เป็นทุกข์” “สิ่งใดเป็นทุกข์ ควรยึดถือว่าเป็นเราไหม” “ไม่ควร” “เวทนาเที่ยงไหม สัญญา สังขาร สุดท้ายถึงตัววิญญาณ คือจิต จิตเที่ยงหรือไม่เที่ยง” “ไม่เที่ยง” เห็นแล้วจิตไม่เที่ยง “สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นสุขหรือทุกข์” “เป็นทุกข์” ตัวจิตนั่นคือตัวทุกข์ ไม่ใช่ตัวดีตัววิเศษ
การที่รู้แจ้งอย่างนี้สำคัญมากเลย แล้วสิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นควรเห็นว่าเป็นเราไหม ควรยึดถือไหม ไม่ควรยึดถือ ตรงที่ว่าไม่ควรยึดถือ จิตก็หมดความยึดถือจิต เมื่อจิตหมดความยึดถือจิต ขันธ์ 5 ซึ่งเป็นผลผลิตของจิต โลกธาตุทั้งหมดซึ่งปรากฏขึ้นมา จักรวาลทั้งหมดซึ่งปรากฏขึ้นมาเพราะมีจิตไปรู้เข้าก็พลอยล่มสลายลงไปหมดพร้อมๆ กันกับที่เราวางจิต ก็จะวางขันธ์ 5 วางโลก วางทุกสิ่งทุกอย่างพร้อมๆ กัน คราวนี้ไม่ต้องถามต่อเลย ตายแล้วไปไหน เพราะอะไร เพราะตรงที่วางขันธ์ 5 ลงไปแล้ว มหาสุญญตาเต็มเปี่ยมอยู่ตรงนั้นแล้ว พระนิพพานเต็มเปี่ยมอยู่ตรงที่วางขันธ์ 5 ลงไปแล้ว ไม่ต้องแสวงหาที่ไหนอีกแล้ว
สมัยที่หลวงพ่อยังภาวนา ตอนนั้นไม่ได้บวช ยังเคยคิดว่านิพพานแล้วต้องกำหนดจิตไม่ยึดไม่ถือ ไม่จับอะไรเลย ที่จริงมันก็เป็นสมาธิชนิดหนึ่ง ไม่ยึดทั้งอารมณ์ ไม่ยึดทั้งจิต แล้วก็ว่างๆ สมาธิอย่างนี้คล้ายนิพพานมากที่สุด ดีว่าเจอหลวงปู่บุญจันทร์ โดนท่านโขกกะโหลกเอา บอก “เฮ้ย นิพพานอะไรมีเข้ามีออก” โดนท่านด่าเอา ท่านดุ ไม่ใช่ท่านด่า ท่านดุ เฮ้ย นิพพานอะไรมีเข้ามีออก เฮ้ย เสียเสียงดังเลย หลวงพ่อก็เลยรู้ ถ้าเรายังกำหนดจิตอย่างนั้น กำหนดจิตอย่างนี้ กำหนดจิตไปนิพพาน อันนี้ของเก๊ แต่เมื่อไรเราสามารถวางขันธ์ 5 ลงไปได้ โดยเฉพาะปล่อยวางจิตได้ เราจะเห็นนิพพานมันอยู่ตรงนั้นแล้ว อยู่กับเรามาแต่ไหนแต่ไร แต่เราไม่เคยเห็นหรอก มันครอบโลกครอบจักรวาลอยู่ทั้งหมดนั่นล่ะ
สรุปก็คือเริ่มที่จิตแล้วก็ไปจบลงที่จิต

หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม
28 มกราคม 2567
ไตรสิกขาฟลอริดา - Trisikkha Florida
ไตรสิกขาฟลอริดา - Trisikkha Florida1 day ago
🙏🏻เนกขัมมะวันที่หนึ่งของคอร์สที่หนึ่ง 10 วัน ณ สำนักปฎิบัติธรรมศูนย์ไตรสิกขา Plant City, Florida USA

🌿วันนี้พวกเราเริ่มต้นหมุนกงล้อธรรมจักรด้วยการฝึกอยู่กับปัจจุบันด้วยสติปัฏฐานสี่ ฝึกจิตให้ตื่นรู้ ตั้งมั่น หัดวางอารมณ์แล้วมีความสงบอยู่ที่ปัจจุบัน 👉แล้วร่วมกันลงมือปฏิบัติเพื่อให้จิตเข้าถึงสภาวะตามความเป็นจริง

🙏🏻ขออนุโมทนากับผู้เข้าร่วมปฎิบัติธรรมทุกๆท่านในวันนี้ 🌿ขออนุโมทนากับทีมงานจิตอาสาที่ร่วมกันทำงานรับใช้พระพุทธศาสนา🪴และเจ้าภาพอาหารเช้าอาหารกลางวัน ขนมหวาน ผลไม้น้ำดื่ม และน้ำปานะ เพื่อเอื้ออำนวยให้การปฎิบัติครั้งนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและสมบูรณ์

😌อาจารย์และทีมงานทุกคนขอนำบุญการปฎิบัติในวันนี้มาฝากทุกๆท่าน✅ขอให้ทุกท่านได้เข้ามาอ่าน เข้ามาชม จงมีสิทธิ์ได้อนุโมทนารับบุญเหล่านี้ร่วมกันเปรียบเสมือนท่านได้ทำด้วยตัวท่านเองนะครับ 😊

สำนักปฏิบัติธรรมศูนย์ไตรสิกขา
Plant City, Florida USA
“แหล่งเรียนรู้และปฎิบัติธรรมตามหลักมรรควิธี ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระเจ้าเพื่อการพ้นทุกข์ ”

คอร์สเนกขัมมะที่ฟลอริดา

คอร์สเนกขัมมะ 10 วันที่ศูนย์ไตรสิกขาฟลอริดาจัดขึ้นทุกปี ปีละสี่ครั้ง โดยไม่มีคำใช้จ่ายแต่อย่างไร นอกจากนี้ยังมีคอรสเนกขัมมะภาษาอังกฤษ 5 วัน หากท่านใดสนใจทราบตารางเวลาของการจัดคอร์สเนกขัมมะที่ฟลอริดา กรุณาติดตามได้ที่หน้าปฏิทินกิจกรรมของศูนย์ไตรสิกขาฟลอริดา

กิจกรรมที่ศูนย์ไตรสิกขาเพชรบุรี:

ศูนย์ไตรสิกขาเพชรบุรี ที่อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี เปิดต้อนรับผู้มาเยี่ยมเยี่ยน หากต้องการเข้าเยี่ยมชมกรุณาติดต่อไปยัง FACEBOOK ของศูนย์ไตรสิกขาเพชรบุรี เพื่อนัดวันเวลาที่เข้าชม

ไตรสิกขาเพชรบุรีมีกิจกรรมตลอดปี โดยไม่มีคำใช้จ่ายแต่อย่างไร หากท่านใดสนใจทราบตารางเวลาของกิจกรรมที่ศูนย์ไตรสิกขาเพชรบุรี กรุณาติดตามได้ที่หน้าปฏิทินกิจกรรมของศูนย์ไตรสิกขาเพชรบุรี

สถานที่เรียนรู้และปฏิบัติธรรมภาวนา ตามแนวทางสติปัฏฐานสี่ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาเรียนรู้ถึงสภาวะธรรมตามความเป็นจริงของมรรควิถีโดยการชี้นำจากอาจารย์วิลลี (จากศูนย์ปฏิบัติธรรมไตรสิกขา)
ไตรสิกขาเพชรบุรี - Trisikkha Petchaburi
ไตรสิกขาเพชรบุรี - Trisikkha Petchaburi8 hours ago
29 เมษายน ทำวัตรเช้าร่วมกันครับ คลิกวิดีโอนี้เพื่ออ่านบทสวดมนต์ตาม
ทำวัตรเช้าวันที่สี่
ไตรสิกขาเพชรบุรี - Trisikkha Petchaburi
ทำวัตรเช้า วันที่ ๔
--- 00:00 คำนำทำวัตรปฏิบัติ01:04 ▸ทำวัตรเช้า02:44 ปุพพภาคนมการ04:18 พุทธาภิถุติ08:24 ธัมมาภิถุติ10:08 สังฆาภิถุติ13:13 รตนัตตยัปปณ.....
ไตรสิกขาเพชรบุรี - Trisikkha Petchaburi
ไตรสิกขาเพชรบุรี - Trisikkha Petchaburi13 hours ago
ปฏิทินกิจกรรมคอร์สเนกขัมมะของศูนย์ไตรสิกขาประจำปี 2567/2024 ทั้งศูนย์ฟลอริดา เพชรบุรี และแบบออนไลน์ จองวันหยุดกันล่วงหน้าไว้ได้เลยครับ
ไตรสิกขาเพชรบุรี - Trisikkha Petchaburi
ไตรสิกขาเพชรบุรี - Trisikkha Petchaburi20 hours ago
28 เมษายน ทำวัตรเย็นร่วมกันครับ คลิกวิดีโอนี้เพื่ออ่านบทสวดมนต์ตาม
ทำวัตรเย็นวันที่สาม
ไตรสิกขาเพชรบุรี - Trisikkha Petchaburi
ทำวัตรเย็น วันที่ ๓
--- 00:00 คำนำทำวัตรปฏิบัติ00:52 ▸คำบูชาพระรัตนตรัย07:01 พุทธานุสสติ08:58 พุทธาภิคีติ13:38 ธัมมานุสสติ14:52 ธัมมาภิคีติ19:28 สังฆา.....
ไตรสิกขาเพชรบุรี - Trisikkha Petchaburi
ไตรสิกขาเพชรบุรี - Trisikkha Petchaburi23 hours ago
"ธรรมะเพื่อความพ้นทุกข์"

อริยมรรคอริยผลเกิดที่จิต
เวลาเราปฏิบัติ บางคนเริ่มจากดูกาย เจริญปัญญาด้วยการดูกาย บางคนเริ่มจากเวทนา บางคนดูจิตที่เป็นกุศลอกุศลอะไรอย่างนี้ แต่เวลาที่เราจะตัดกิเลส จิตรวมลงที่จิต ไม่ว่าจะเริ่มต้นมาจากกาย หรือเวทนา หรือจิต หรือธรรม เวลาที่จะเกิดอริยมรรคมันเกิดที่จิต ขณะที่เรารู้กายๆ นี่ล่ะ แต่เวลาที่อริยมรรคจะเกิด เกิดที่จิต ไม่ได้เกิดที่กาย กิเลสไม่ได้อยู่ที่ร่างกาย
เพราะฉะนั้นอย่างเราดูร่างกาย หรือเราดูเวทนา สุข ทุกข์ในกายในใจ หรือดูจิตที่เป็นกุศล อกุศล ดูเห็นเกิดดับๆ ไปเรื่อย ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ กายก็อยู่ในไตรลักษณ์ เวทนาก็อยู่ในไตรลักษณ์ สังขารปรุงดีปรุงชั่วก็อยู่ในไตรลักษณ์ เห็นซ้ำๆๆ ถึงจุดหนึ่งจิตมันจะรวมเข้ามา แล้วมันสรุปได้เองว่าทุกสิ่งทั้งรูปธรรมทั้งนามธรรมล้วนแต่ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ สภาวะทั้งหลายสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดดับเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้นจะรวมเข้ามาที่จิตแล้วเกิดปัญญาตัวนี้ขึ้นมา ไม่ใช่คิด ไม่ใช่ความคิด แต่จิตมันจะเข้าใจขึ้นมา สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดดับเป็นธรรมดา พอความรู้ตัวนี้เกิดขึ้น อริยมรรคก็เกิดขึ้น อริยผลก็เกิดขึ้นทันที เพราะฉะนั้นเกิดที่จิตนั่นล่ะ
อาสวกิเลสที่มันห่อหุ้มจิตอยู่มันเหมือนเปลือกหุ้มจิต แล้วมันซึมซ่าน หมักดอง ย้อมอยู่ในจิต มันจะถูกอาสวะทำลายออกไป มันจะแยกตัวออกไปจากจิต เหมือนเรามีบ่อน้ำ เหมือนเราไปเจอบ่อน้ำ แล้วบ่อน้ำนี้มี รู้จักแหนไหม แหน เขียวๆ เล็กๆ บางทีมันขึ้นเต็มบ่อเลย จนมองไม่เห็นน้ำ เรามีก้อนหินใหญ่ๆ ทุ่มโครมลงไป น้ำก็แหวกออก แหนเล็กๆ กระจายออกไป เราก็มองเห็นน้ำ ตอนที่อริยมรรคเกิดครั้งที่หนึ่ง มันก็จะแหวกออกไป เราก็จะเห็นตัวจิตจริงๆ ไม่ใช่จิตที่ถูกปกคลุมห่อหุ้มด้วยจอกแหน คืออาสวกิเลส จะเห็นตัวจริงของมัน ตัวจริงของมันใส กว้าง ไม่มีตัวมีตนอะไรหรอก
แล้วในไม่กี่ขณะจิต จอกแหนนี้ก็เข้ามาปิด อาสวะก็กลับเข้ามาปิดจิตอีก เราก็ทำสมถะ ทำวิปัสสนาของเราต่อไปอีก จนเราแหวกครั้งที่สอง แหวกออกไปแล้วมันก็เข้ามาปิดอีก ครั้งที่สามก็เข้ามาปิดอีก หลวงพ่อเคยถามหลวงปู่ดูลย์ หลวงปู่ครับ หลวงปู่ท่านใช้คำว่าจิตยิ้ม คือพอแหวกออกมา ธรรมชาติเดิมของจิตมันรู้ มันตื่น มันเบิกบานเต็มที่เลย หลวงปู่ดูลย์ท่านเรียกจิตยิ้ม ถามท่าน “หลวงปู่ครับ จิตยิ้มมันต้องเกิดกี่ครั้งครับ” หลวงปู่ก็นับ 1 2 3 ไม่ใช่ 1 2 3 4 – 4 ครั้ง พอครั้งที่สี่ มันเหมือนอุกกาบาตชนใส่เลย ตูม สลายไปหมดเลย แล้วไม่มีจอกแหนอะไรจะกลับมาปกปิดจิตใจได้อีกต่อไป จิตหลุดพ้นจากอาสวะ
จิตหลุดพ้นจากอาสวะได้เพราะอะไร เพราะความไม่ถือมั่น หมดความยึดถือในขันธ์ 5 หมดความยึดถือในขันธ์ 5 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หมดความยึดถือในจิต ในบรรดาขันธ์ 5 เวลาหมดความยึดถือ ไม่ได้หมดพร้อมกัน มันจะหมดความยึดถือในตัวรูปไปก่อน ภูมิจิตภูมิธรรมของพระอนาคามี จะหมดความยึดถือในร่างกาย ในรูป แล้วภาวนาเรื่อยๆ ไป จะหมดความยึดถือในจิตในขั้นสุดท้าย พอหมดความยึดถือในจิต เรียกว่ารู้แจ้งแล้วว่าขันธ์ 5 รวมทั้งจิตนั่นล่ะคือตัวทุกข์ นี่รู้อริยสัจ รู้อริยสัจ 4 ขันธ์ 5 คือตัวทุกข์ รูป นาม กาย ใจ ก็คือตัวทุกข์ พอเห็นแจ้งอย่างนี้มันจะวาง ขันธ์ 5 ซึ่งเราเห็นว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
พอถึงจุดที่มันวางแล้ว มันจะแปรสภาพเป็นว่าง มันมีอยู่แต่มันว่าง ไม่ใช่ไม่มี มีอยู่แต่ว่าง อย่างมองอย่างนี้ มีคนเยอะแยะ แต่ถ้าจิตมันหลุดพ้นไปแล้ว จิตมันวาง ปล่อยวางจิตได้แล้ว มันจะรู้สึกมันว่าง แล้วความว่างนี้ไม่เคยหายไปไหน ความว่างนี้ทั้งโลกธาตุ ตัวนี้ก็ว่าง จิตใจนี้ก็ว่าง แล้วเวลาที่จะตาย ธาตุขันธ์จะแตกจะดับ
คนที่เข้าถึงธาตุตัวนี้แล้ว เข้าถึงธรรมธาตุตัวนี้แล้ว เห็นความว่าง เห็นสุญญตาที่แท้จริง เห็นพระนิพพานที่แท้จริงแล้ว เขาจะไม่นั่งคิดหรอกว่าตายแล้วจะไปเกิดที่ไหน พระอรหันต์นิพพานแล้วจะไปมีสภาพเป็นอย่างไร จะไม่มีความคิดอย่างนั้นเกิดขึ้นหรอก ถ้ายังคิดว่า เอ๊ะ เราเป็นพระอรหันต์แล้ว เดี๋ยวนิพพานแล้วเราจะไปอย่างไร ญาติโยมทั้งหลายก็น้อมส่งสู่แดนนิพพาน ก็พวกไม่รู้เรื่องด้วยกันพูดด้วยกันนั่นล่ะ ที่จริงแล้วการสัมผัสพระนิพพานไม่ได้ไปไหนเลยๆ เมื่อไรที่เราวางขันธ์ 5 ลงไปได้ โดยเฉพาะการวางจิตลงไปแล้ว นิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตาอยู่แล้ว
นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นความยึดถือในขันธ์ 5 ไม่เข้าไปหยิบไปฉวยขันธ์ 5 เขาเรียกไม่มีชาติอีกต่อไปแล้ว เป็นสภาวะที่ไม่มีตัณหา เรียกว่าวิราคะ ปล่อยวางรูปนามได้ เป็นวิมุตติ ไม่มีความอยากใดๆ เกิดขึ้น เรียกวิราคะ ไม่มีความดิ้นรนปรุงแต่ง เรียกว่าวิสังขาร ความคิดมีอยู่ แต่มันเป็นอีกลักษณะหนึ่ง มันไม่ใช่เหมือนที่พวกเราคิด พวกเราคิดมันเจือด้วยความจงใจปรุงแต่งเข้าไป แต่อย่างถ้าพระอรหันต์คิด มันเหมือนสักแต่ว่าๆ สภาวะทั้งหลายมันสักแต่ว่าทั้งหมดล่ะ ฉะนั้นคำว่าสักว่าๆ เราพูดง่าย ภาวนากันปางตาย รอดตายมาถึงจะเจอ
เพราะฉะนั้นการปฏิบัติเริ่มจากจิตของเรา ฝึกจิตตัวเองให้มีเรี่ยวมีแรงก่อนแล้วไปเดินปัญญา แล้วมาตัดกิเลสที่จิต มาปล่อยวางที่จิต แล้วมาสัมผัสพระนิพพานที่จิต นี่ที่หลวงพ่อพูดว่าการปฏิบัติเริ่มมาจากจิตแล้วก็ไปจบลงที่จิต ถึงตรงนั้นไม่มีที่ต้องไปต่อ
ที่เล่าเรื่อยๆ ว่ามีพระในสมัยพุทธกาล ท่านคิดว่าท่านเป็นพระอรหันต์ แล้วท่านก็ประกาศวาทะว่าท่านรู้แล้วว่าพระอรหันต์นิพพานแล้วไปไหน เพื่อนพระด้วยกันก็รู้ว่าองค์นี้ยังไม่เข้าใจ พยายามบอก พยายามแก้ แก้ไม่ตก ไปนิมนต์พระสารีบุตรมาช่วยสอน พระสารีบุตรก็สอน สิ่งที่ท่านสอนคืออยู่ในอนัตตลักขณสูตรที่พระพุทธเจ้าสอนปัญจวัคคีย์ล่ะ ถามว่า “รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง” ท่านก็ดูตามไป “รูปไม่เที่ยง” “สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นสุขหรือเป็นทุกข์” “เป็นทุกข์” “สิ่งใดเป็นทุกข์ ควรยึดถือว่าเป็นเราไหม” “ไม่ควร” “เวทนาเที่ยงไหม สัญญา สังขาร สุดท้ายถึงตัววิญญาณ คือจิต จิตเที่ยงหรือไม่เที่ยง” “ไม่เที่ยง” เห็นแล้วจิตไม่เที่ยง “สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นสุขหรือทุกข์” “เป็นทุกข์” ตัวจิตนั่นคือตัวทุกข์ ไม่ใช่ตัวดีตัววิเศษ
การที่รู้แจ้งอย่างนี้สำคัญมากเลย แล้วสิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นควรเห็นว่าเป็นเราไหม ควรยึดถือไหม ไม่ควรยึดถือ ตรงที่ว่าไม่ควรยึดถือ จิตก็หมดความยึดถือจิต เมื่อจิตหมดความยึดถือจิต ขันธ์ 5 ซึ่งเป็นผลผลิตของจิต โลกธาตุทั้งหมดซึ่งปรากฏขึ้นมา จักรวาลทั้งหมดซึ่งปรากฏขึ้นมาเพราะมีจิตไปรู้เข้าก็พลอยล่มสลายลงไปหมดพร้อมๆ กันกับที่เราวางจิต ก็จะวางขันธ์ 5 วางโลก วางทุกสิ่งทุกอย่างพร้อมๆ กัน คราวนี้ไม่ต้องถามต่อเลย ตายแล้วไปไหน เพราะอะไร เพราะตรงที่วางขันธ์ 5 ลงไปแล้ว มหาสุญญตาเต็มเปี่ยมอยู่ตรงนั้นแล้ว พระนิพพานเต็มเปี่ยมอยู่ตรงที่วางขันธ์ 5 ลงไปแล้ว ไม่ต้องแสวงหาที่ไหนอีกแล้ว
สมัยที่หลวงพ่อยังภาวนา ตอนนั้นไม่ได้บวช ยังเคยคิดว่านิพพานแล้วต้องกำหนดจิตไม่ยึดไม่ถือ ไม่จับอะไรเลย ที่จริงมันก็เป็นสมาธิชนิดหนึ่ง ไม่ยึดทั้งอารมณ์ ไม่ยึดทั้งจิต แล้วก็ว่างๆ สมาธิอย่างนี้คล้ายนิพพานมากที่สุด ดีว่าเจอหลวงปู่บุญจันทร์ โดนท่านโขกกะโหลกเอา บอก “เฮ้ย นิพพานอะไรมีเข้ามีออก” โดนท่านด่าเอา ท่านดุ ไม่ใช่ท่านด่า ท่านดุ เฮ้ย นิพพานอะไรมีเข้ามีออก เฮ้ย เสียเสียงดังเลย หลวงพ่อก็เลยรู้ ถ้าเรายังกำหนดจิตอย่างนั้น กำหนดจิตอย่างนี้ กำหนดจิตไปนิพพาน อันนี้ของเก๊ แต่เมื่อไรเราสามารถวางขันธ์ 5 ลงไปได้ โดยเฉพาะปล่อยวางจิตได้ เราจะเห็นนิพพานมันอยู่ตรงนั้นแล้ว อยู่กับเรามาแต่ไหนแต่ไร แต่เราไม่เคยเห็นหรอก มันครอบโลกครอบจักรวาลอยู่ทั้งหมดนั่นล่ะ
สรุปก็คือเริ่มที่จิตแล้วก็ไปจบลงที่จิต

หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม
28 มกราคม 2567

คอร์สเนกขัมมะที่เพชรบุรี

คอร์สเนกขัมมะที่ศูนย์ไตรสิกขาเพชรบุรีจัดขึ้นทุกปี ในช่วงที่ศูนย์เพชรบุรียังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง ทางวัดวังพุไทร เพชรบุรี ได้เอื้อเฟื้อสถานที่ในการจัดคอรสเนกขัมมะมาตลอดทุกปี เนื้อหาของคอรสเนกขัมมะครอบคลุมทั้งในส่วนของทฤษฏีและปฏิบัติ ผู้เข้าร่วมคอร์สแต่งกายสุภาพ รับศีลแปด และสวดมนต์ทำวัตรเช้าและเย็นเป็นเวลาหนึ่งชั่วโมง เวลาส่วนที่เหลือ นอกจากรับประทานอาหารเช้าและกลางวัน และสนทนาธรรมในช่วงเช้า จะมีเวลาให้ปฏิบัติเดินจงกรมและนั่งสมาธิสามช่วงในแต่ละวัน ในส่วนของทฤษฏีนั้นเนื้อหาแบ่งเป็นจิตสิกขา ศีลสิกขา และ ปัญญาสิกขา เป็นการเรียนการสอนโดยฆราวาสธรรม ในบรรยากาศสบายๆเป็นกันเอง ผู้ปฏิบัติจะมีโอกาสสอบถามข้อข้องใจ เพื่อมุ่งให้ผู้สนใจทราบถึงว่า เราปฏิบัติทำไม เพื่ออะไร และควรปฏิบัติอย่างไร หัวข้อที่สนทนาธรรม ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 อริยสัจ 4 ปฏิจจสมุปบาท มรรค 8 โพธิฌงค์ 7 วิสุทธิ 7 ฯลฯ

หากท่านใดสนใจทราบตารางเวลาของการจัดคอร์สเนกขัมมะที่เพชรบุรี กรุณาติดตามได้ที่หน้าปฏิทินกิจกรรมของศูนย์ไตรสิกขาเพชรบุรี