กิจกรรม

ณ ศูนย์ไตรสิกขา

กิจกรรมที่ศูนย์ไตรสิกขาฟลอริดา:

ไตรสิกขาฟลอริดามีกิจกรรมตลอดปี รวมทั้งการร่วมปฏิบัติธรรมทุกวันอาทิตย์ ยกเว้นในช่วงที่มีคอรสเนกขัมมะ โดยไม่มีคำใช้จ่ายแต่อย่างไร หากท่านใดสนใจทราบตารางเวลาของกิจกรรมที่ศูนย์ไตรสิกขาฟลอริดา กรุณาติดตามได้ที่หน้าปฏิทินกิจกรรมของศูนย์ไตรสิกขาฟลอริดา

ไตรสิกขาฟลอริดา - Trisikkha Florida
ไตรสิกขาฟลอริดา - Trisikkha Florida14 hours ago
หลักธรรมะปฏิบัติเพื่อการปฏิบัติถึงทุกๆคนทุกวันนี้ อาจารย์จะมาสนทนาเกี่ยวกับเรื่องของ หัวใจของพระพุทธศาสนาที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการ และสิกขติ ซึ่งหลักธรรมทั้งสองอันเป็นตัวอุปถัมภ์การเดินวิปัสสนาให้ประสบความสำเร็จ หากนักปฎิบัติธรรมท่านใดมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าปรารถนาจะพ้นจากทุกข์ หลักธรรมวันนี้เหมาะกับท่านมาก เพื่อจะได้นำธรรมนี้เข้าไปในใจท่าน แล้วลงมือปฏิบัติเพื่อจิตเข้าถึงสภาวะตามความเป็นจริงด้วยจิตมั่นและเป็นกลาง

โยนิโสมนสิการ คือ หัวใจของวิปัสสนา
https://youtu.be/ROOfg1E6BtE

ร่วมต่อเนื่องฟังธรรมแล้วลงมือปฏิบัติการบ้านและหลักของการโยนิโสมนสิการและสิกขติอยู่ในคลิปนะครับ

อาจารย์วิลลี่
สำนักปฎิบัติธรรมศูนย์ไตรสิกขา
“แหล่งเรียนรู้และปฎิบัติธรรมตามหลักมรรควิธีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อการพ้นทุกข์”
ไตรสิกขาฟลอริดา - Trisikkha Florida
โยนิโสมนสิการ คือ หัวใจของวิปัสสนา
หลักธรรมะปฏิบัติเพื่อการปฏิบัติถึงทุกๆคนทุกวันนี้ อาจารย์จะมาสนทนาเกี่ยวกับเรื่องของ หัวใจของพระพุทธศ....
ไตรสิกขาฟลอริดา - Trisikkha Florida
ไตรสิกขาฟลอริดา - Trisikkha Florida2 days ago
สัปดาห์นี้ เตรียมพบกันในไลฟ์สด บรรยายธรรม และ สนทนาธรรม ค่ะ กับ อ. วิลลี่ กันนะคะ

📢 FB Live ธรรมะเพื่อความพ้นทุกข์ ทางเฟซบุ้ค “กลุ่มไตรสิกขา”

วันพุธ ที่ 7 พฤษภาคม 2568 นี้
ในหัวข้อ "สมาธินำปัญญา"

วันเสาร์ ที่ 10 พฤษภาคม 2568 นี้
ในหัวข้อ "อิทธิบาท 4"
เวลา 20:00 น. ไทย หรือ US EDT 9:00 AM

💫 กำหนดการไลฟ์สด
20:00 น. ไทย (9:00 AM EDT)
อาจารย์วิลลี่ นำนั่งสมาธิ ฝึกจิตให้มีสติ และอยู่กับปัจจุบัน
20:30 น. ไทย (9:30 AM EDT)
บรรยายธรรม สนทนาธรรม ถามตอบธรรมมะ
22:00 น. ไทย (11:00 AM EDT)
จบไลฟ์

หากยังไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่ม กรุณาทำตามขั้นตอน
👉 วิธีเข้าร่วม:
กดขอเข้าร่วมกลุ่มเฟซบุ้ค FB Group
“กลุ่มไตรสิกขา”
1 >> คลิก 👇 https://www.facebook.com/groups/239332620582224
2>> ตอบคำถามให้ครบทุกข้อ
3>> กดขอเข้าร่วมกลุ่ม
ไตรสิกขาฟลอริดา - Trisikkha Florida
ไตรสิกขาฟลอริดา - Trisikkha Florida2 days ago
คอลัมน์ "ธรรมะเพื่อความพ้นทุกข์"
“...1. รักษาศิล
พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ว่า “ฆราวาสจะรักษาศีลให้สะอาดหมดจด เหมือน
หอยสังข์ที่ขัดดีแล้วนั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก” แต่เราก็ต้องพยายามรักษาศีลให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ตั้งใจว่าเราจะไม่ทำบาปอกุศลทางกายและทางวาจา5 อย่าง ตั้งแต่ตื่นนอน คอยเตือนตัวเองเรื่อยๆ วันหนึ่งหลายๆ รอบจนจะนอนก็ยังตั้งใจรักษาศีลการรักษาศีลให้ดีที่สุดก็คือการมีสติรักษาจิต กิเลสอะไรเกิดขึ้นที่จิตให้รู้ทันถ้าเรารู้ทันได้ กิเลสจะครอบงำจิตไม่ได้ ศีลจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ

2. การฝึกจิตใจให้มีความสุขความสงบ
ถ้าจิตใจฟุ้งซ่านก็ให้มานึกถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งเมื่อจิตมาอยู่กับสิ่งนั้นแล้วมี
ความสุข เช่น ถ้าเราหายใจเข้าหายใจออกมีความสุข เราก็มาอยู่กับลมหายใจถ้าเราคิดถึงพระพุทธเจ้าแล้วมีความสุข เราก็พุทโธๆ คิดถึงพระพุทธเจ้าไปเรื่อย ดูท้องพองยุบแล้วมีความสุขก็ดูไป เดินจงกรมแล้วมีความสุขก็เดินไปถ้าเราอยู่กับอารมณ์ที่มีความสุข จิตจะสงบเอง จิตจะไม่วิ่งพล่านไปหาความสุขที่อื่น ฝึกไปเรื่อย เราจะได้จิตที่สงบ มีความสุข การเพ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียวแบบนี้เป็นสมถกัมมัฏฐาน เรียกว่า “อารัมมณูปนิชฌาน”

3.ฝึกจิตใจให้มีสมาธิตั้งมั้นเป็นผู้รู้
ต่อไปเราต้องมาฝึกให้จิตตั้งมั่น เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน เป็นผู้รู้อารมณ์ จิตเป็นแค่คนดู เห็นอารมณ์ทั้งหลายไหลผ่านไป เป็นสมาธิที่สามารถเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของกายของใจได้ สมาธิชนิดนี้มีเฉพาะในพระพุทธศาสนา เรียกว่า“ลักขณูปนิชฌาน” เป็นสมาธิที่ใช้ทำวิปัสสนากัมมัฏฐาน และเกิดในขณะที่เกิดอริยมรรค เกิดในขณะที่เกิดอริยผล และเกิดในขณะที่พระอริยบุคคลเข้าผลสมาบัติ

วิธีฝึกสมาธิชนิดตั้งมั่นมี 3 วิธี
วิธีที่ 1 สำหรับคนทั่วไปทำยากหน่อยคือการทำฌาน เช่น การทำอานาปานสติรู้ลมหายใจ หรือเพ่งกสิณจนได้ฌานที่ 2 จิตจะทวนกลับมาที่ตัวรู้ ละวิตกละวิจาร จิตก็ตั้งมั่น เรียกว่าจิตมีเอโกทิภาวะคือมีความเป็นหนึ่ง พอได้ตัวรู้ในฌานที่ 2 แล้ว เมื่อออกจากฌาน ตัวรู้จะเด่นอยู่อีกหลายวัน แต่ไม่เกิน 7 วัน ก็จะหมองๆ ไปอีก ถ้าเราได้ตัวรู้ด้วยวิธีนี้ เราจะปฏิบัติธรรมได้สบายมาก เพราะมีกำลังของสมาธิแรงกล้า แต่ถ้าพวกเราเข้าฌานไม่ได้ก็อย่าท้อใจให้ทำสมาธิวิธีที่ 2 ซึ่งง่ายกว่ามาก

วิธีที่ 2 คนทั่วไปทำได้ง่ายมาก ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าตัวรู้กับตัวคิดนั้นตรงข้ามกัน ถ้าเมื่อไรเป็นตัวรู้ก็ไม่ใช่ตัวคิด ถ้าเมื่อไรเป็นตัวคิดก็ไม่ใช่ตัวรู้ ดังนั้น ให้เรารู้ทันเวลาจิตไหลไปคิด พอจิตไหลไป เรารู้ทัน จิตที่ไหลไปคิดจะดับ จะเกิดจิตที่เป็นตัวรู้ขึ้นมาแทน ง่ายๆแค่นี้เอง

แต่การที่จะรู้ทันจิตที่ไหลไปคิดต้องมีตัวช่วยไม่ให้มันไหลไปนาน โดยต้องหาเครื่องอยู่ให้จิต จะอยู่กับพุทโธก็ได้ อยู่กับลมหายใจก็ได้ ดูท้องพองยุบก็ได้แล้วเราก็แค่คอยรู้ทันจิตที่ไหลไป เช่น เวลาเราพุทโธ หรือรู้ลมหายใจหรือรู้ท้องพองยุบ เวลาจิตไหลไปคิดหรือไปเพ่ง ก็ให้รู้ทันจิตที่ไหลไปจิตที่ไหลไปจิตที่เคลื่อนไปคือจิตที่ฟุ้งซ่าน ถ้าเรารู้ทันจิตที่ฟุ้งซ่าน จิตไหลไปคิดก็รู้ จิตไหลไปเพ่งก็รู้ ความฟุ้งซ่านจะดับอัตโนมัติ (เพราะเมื่อสติเกิด อกุศลจะดับอัตโนมัติ) จิตจะเลิกฟุ้งซ่าน จิตก็ตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดูโดยอัตโนมัติต้องระวังว่าอย่าจงใจทำตัวผู้รู้ขึ้นมา เพราะถ้าจงใจทำตัวผู้รู้ขึ้นมาจะเป็นตัวปลอมผู้รู้ตัวนี้จะแข็งกระด้าง ใช้ไม่ได้จริงหรอก มันจะทื่อๆ ไปทั้งวันเลย

วิธีที่ 3 สำหรับคนที่ทำฌานก็ไม่ได้ เเละดูจิตที่เคลื่อนไปจับอารมณ์ก็ไม่เห็นก็ให้ใช้สติคอยรู้สึกอยู่ในร่างกาย เช่น เห็นร่างกายหายใจ ก็ให้ทำความรู้สึกเหมือนเห็นคนอื่นหายใจ เห็นร่างกายยืน เดิน นั่ง นอน ก็ให้ทำความรู้สึกเหมืิอนเห็นคนอื่นยืน เดิน นั่ง นอน ถ้าเราทำความรู้สึกในกายว่าร่างกายนี้เหมือนหุ่นยนต์เหมืิอนสิ่งที่ถูกรู้ถูกดู จิตที่เป็นผู้รู้ผู้ดูก็จะมีขึ้นมาได้เหมือนกัน เเต่ก็มีข้อเสีย คือถ้าทำความรู้สึกเเรงเกินไป หรือจงใจมาจับตัวรู้ ตัวรู้นี้จะเเข็งเกินไป กลายเป็นเพ่งตัวรู้ ซึ่งเป็นการติดสมถะที่เเก้ยากมาก

โรดแม็พ ธรรมปฏิบัติ ทางเดินสู่โลกุตตรธรรม หน้าที่ 215
หลวงพ่อปราโมทย์ ปราโมชุโช

<<<<<<<<<<<<<<<<
http://www.dhamma.com/en/ and
http://www.trisikkhameditationcenter.org/
<<<<<<<<<<<<<<<
ไตรสิกขาฟลอริดา - Trisikkha Florida
ไตรสิกขาฟลอริดา - Trisikkha Florida3 days ago
คอลัมน์ "ธรรมะเพื่อความพ้นทุกข์"
“...1. รักษาศิล
พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ว่า “ฆราวาสจะรักษาศีลให้สะอาดหมดจด เหมือน
หอยสังข์ที่ขัดดีแล้วนั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก” แต่เราก็ต้องพยายามรักษาศีลให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ตั้งใจว่าเราจะไม่ทำบาปอกุศลทางกายและทางวาจา5 อย่าง ตั้งแต่ตื่นนอน คอยเตือนตัวเองเรื่อยๆ วันหนึ่งหลายๆ รอบจนจะนอนก็ยังตั้งใจรักษาศีลการรักษาศีลให้ดีที่สุดก็คือการมีสติรักษาจิต กิเลสอะไรเกิดขึ้นที่จิตให้รู้ทันถ้าเรารู้ทันได้ กิเลสจะครอบงำจิตไม่ได้ ศีลจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ

2. การฝึกจิตใจให้มีความสุขความสงบ
ถ้าจิตใจฟุ้งซ่านก็ให้มานึกถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งเมื่อจิตมาอยู่กับสิ่งนั้นแล้วมี
ความสุข เช่น ถ้าเราหายใจเข้าหายใจออกมีความสุข เราก็มาอยู่กับลมหายใจถ้าเราคิดถึงพระพุทธเจ้าแล้วมีความสุข เราก็พุทโธๆ คิดถึงพระพุทธเจ้าไปเรื่อย ดูท้องพองยุบแล้วมีความสุขก็ดูไป เดินจงกรมแล้วมีความสุขก็เดินไปถ้าเราอยู่กับอารมณ์ที่มีความสุข จิตจะสงบเอง จิตจะไม่วิ่งพล่านไปหาความสุขที่อื่น ฝึกไปเรื่อย เราจะได้จิตที่สงบ มีความสุข การเพ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียวแบบนี้เป็นสมถกัมมัฏฐาน เรียกว่า “อารัมมณูปนิชฌาน”

3.ฝึกจิตใจให้มีสมาธิตั้งมั้นเป็นผู้รู้
ต่อไปเราต้องมาฝึกให้จิตตั้งมั่น เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน เป็นผู้รู้อารมณ์ จิตเป็นแค่คนดู เห็นอารมณ์ทั้งหลายไหลผ่านไป เป็นสมาธิที่สามารถเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของกายของใจได้ สมาธิชนิดนี้มีเฉพาะในพระพุทธศาสนา เรียกว่า“ลักขณูปนิชฌาน” เป็นสมาธิที่ใช้ทำวิปัสสนากัมมัฏฐาน และเกิดในขณะที่เกิดอริยมรรค เกิดในขณะที่เกิดอริยผล และเกิดในขณะที่พระอริยบุคคลเข้าผลสมาบัติ

วิธีฝึกสมาธิชนิดตั้งมั่นมี 3 วิธี
วิธีที่ 1 สำหรับคนทั่วไปทำยากหน่อยคือการทำฌาน เช่น การทำอานาปานสติรู้ลมหายใจ หรือเพ่งกสิณจนได้ฌานที่ 2 จิตจะทวนกลับมาที่ตัวรู้ ละวิตกละวิจาร จิตก็ตั้งมั่น เรียกว่าจิตมีเอโกทิภาวะคือมีความเป็นหนึ่ง พอได้ตัวรู้ในฌานที่ 2 แล้ว เมื่อออกจากฌาน ตัวรู้จะเด่นอยู่อีกหลายวัน แต่ไม่เกิน 7 วัน ก็จะหมองๆ ไปอีก ถ้าเราได้ตัวรู้ด้วยวิธีนี้ เราจะปฏิบัติธรรมได้สบายมาก เพราะมีกำลังของสมาธิแรงกล้า แต่ถ้าพวกเราเข้าฌานไม่ได้ก็อย่าท้อใจให้ทำสมาธิวิธีที่ 2 ซึ่งง่ายกว่ามาก

วิธีที่ 2 คนทั่วไปทำได้ง่ายมาก ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าตัวรู้กับตัวคิดนั้นตรงข้ามกัน ถ้าเมื่อไรเป็นตัวรู้ก็ไม่ใช่ตัวคิด ถ้าเมื่อไรเป็นตัวคิดก็ไม่ใช่ตัวรู้ ดังนั้น ให้เรารู้ทันเวลาจิตไหลไปคิด พอจิตไหลไป เรารู้ทัน จิตที่ไหลไปคิดจะดับ จะเกิดจิตที่เป็นตัวรู้ขึ้นมาแทน ง่ายๆแค่นี้เอง

แต่การที่จะรู้ทันจิตที่ไหลไปคิดต้องมีตัวช่วยไม่ให้มันไหลไปนาน โดยต้องหาเครื่องอยู่ให้จิต จะอยู่กับพุทโธก็ได้ อยู่กับลมหายใจก็ได้ ดูท้องพองยุบก็ได้แล้วเราก็แค่คอยรู้ทันจิตที่ไหลไป เช่น เวลาเราพุทโธ หรือรู้ลมหายใจหรือรู้ท้องพองยุบ เวลาจิตไหลไปคิดหรือไปเพ่ง ก็ให้รู้ทันจิตที่ไหลไปจิตที่ไหลไปจิตที่เคลื่อนไปคือจิตที่ฟุ้งซ่าน ถ้าเรารู้ทันจิตที่ฟุ้งซ่าน จิตไหลไปคิดก็รู้ จิตไหลไปเพ่งก็รู้ ความฟุ้งซ่านจะดับอัตโนมัติ (เพราะเมื่อสติเกิด อกุศลจะดับอัตโนมัติ) จิตจะเลิกฟุ้งซ่าน จิตก็ตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดูโดยอัตโนมัติต้องระวังว่าอย่าจงใจทำตัวผู้รู้ขึ้นมา เพราะถ้าจงใจทำตัวผู้รู้ขึ้นมาจะเป็นตัวปลอมผู้รู้ตัวนี้จะแข็งกระด้าง ใช้ไม่ได้จริงหรอก มันจะทื่อๆ ไปทั้งวันเลย

วิธีที่ 3 สำหรับคนที่ทำฌานก็ไม่ได้ เเละดูจิตที่เคลื่อนไปจับอารมณ์ก็ไม่เห็นก็ให้ใช้สติคอยรู้สึกอยู่ในร่างกาย เช่น เห็นร่างกายหายใจ ก็ให้ทำความรู้สึกเหมือนเห็นคนอื่นหายใจ เห็นร่างกายยืน เดิน นั่ง นอน ก็ให้ทำความรู้สึกเหมืิอนเห็นคนอื่นยืน เดิน นั่ง นอน ถ้าเราทำความรู้สึกในกายว่าร่างกายนี้เหมือนหุ่นยนต์เหมืิอนสิ่งที่ถูกรู้ถูกดู จิตที่เป็นผู้รู้ผู้ดูก็จะมีขึ้นมาได้เหมือนกัน เเต่ก็มีข้อเสีย คือถ้าทำความรู้สึกเเรงเกินไป หรือจงใจมาจับตัวรู้ ตัวรู้นี้จะเเข็งเกินไป กลายเป็นเพ่งตัวรู้ ซึ่งเป็นการติดสมถะที่เเก้ยากมาก

โรดแม็พ ธรรมปฏิบัติ ทางเดินสู่โลกุตตรธรรม หน้าที่ 215
หลวงพ่อปราโมทย์ ปราโมชุโช

<<<<<<<<<<<<<<<<
http://www.dhamma.com/en/ and
http://www.trisikkhameditationcenter.org/
<<<<<<<<<<<<<<<

คอร์สเนกขัมมะที่ฟลอริดา

คอร์สเนกขัมมะ 10 วันที่ศูนย์ไตรสิกขาฟลอริดาจัดขึ้นทุกปี ปีละสี่ครั้ง โดยไม่มีคำใช้จ่ายแต่อย่างไร นอกจากนี้ยังมีคอรสเนกขัมมะภาษาอังกฤษ 5 วัน หากท่านใดสนใจทราบตารางเวลาของการจัดคอร์สเนกขัมมะที่ฟลอริดา กรุณาติดตามได้ที่หน้าปฏิทินกิจกรรมของศูนย์ไตรสิกขาฟลอริดา

กิจกรรมที่ศูนย์ไตรสิกขาเพชรบุรี:

ศูนย์ไตรสิกขาเพชรบุรี ที่อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี เปิดต้อนรับผู้มาเยี่ยมเยี่ยน หากต้องการเข้าเยี่ยมชมกรุณาติดต่อไปยัง FACEBOOK ของศูนย์ไตรสิกขาเพชรบุรี เพื่อนัดวันเวลาที่เข้าชม

ไตรสิกขาเพชรบุรีมีกิจกรรมตลอดปี โดยไม่มีคำใช้จ่ายแต่อย่างไร หากท่านใดสนใจทราบตารางเวลาของกิจกรรมที่ศูนย์ไตรสิกขาเพชรบุรี กรุณาติดตามได้ที่หน้าปฏิทินกิจกรรมของศูนย์ไตรสิกขาเพชรบุรี

สถานที่เรียนรู้และปฏิบัติธรรมภาวนา ตามแนวทางสติปัฏฐานสี่ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาเรียนรู้ถึงสภาวะธรรมตามความเป็นจริงของมรรควิถีโดยการชี้นำจากอาจารย์วิลลี (จากศูนย์ปฏิบัติธรรมไตรสิกขา)
ไตรสิกขาเพชรบุรี - Trisikkha Petchaburi
ไตรสิกขาเพชรบุรี - Trisikkha Petchaburi14 hours ago
หลักธรรมะปฏิบัติเพื่อการปฏิบัติถึงทุกๆคนทุกวันนี้ อาจารย์จะมาสนทนาเกี่ยวกับเรื่องของ หัวใจของพระพุทธศาสนาที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการ และสิกขติ ซึ่งหลักธรรมทั้งสองอันเป็นตัวอุปถัมภ์การเดินวิปัสสนาให้ประสบความสำเร็จ หากนักปฎิบัติธรรมท่านใดมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าปรารถนาจะพ้นจากทุกข์ หลักธรรมวันนี้เหมาะกับท่านมาก เพื่อจะได้นำธรรมนี้เข้าไปในใจท่าน แล้วลงมือปฏิบัติเพื่อจิตเข้าถึงสภาวะตามความเป็นจริงด้วยจิตมั่นและเป็นกลาง

โยนิโสมนสิการ คือ หัวใจของวิปัสสนา
https://youtu.be/ROOfg1E6BtE

ร่วมต่อเนื่องฟังธรรมแล้วลงมือปฏิบัติการบ้านและหลักของการโยนิโสมนสิการและสิกขติอยู่ในคลิปนะครับ

อาจารย์วิลลี่
สำนักปฎิบัติธรรมศูนย์ไตรสิกขา
“แหล่งเรียนรู้และปฎิบัติธรรมตามหลักมรรควิธีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อการพ้นทุกข์”
ไตรสิกขาเพชรบุรี - Trisikkha Petchaburi
โยนิโสมนสิการ คือ หัวใจของวิปัสสนา
หลักธรรมะปฏิบัติเพื่อการปฏิบัติถึงทุกๆคนทุกวันนี้ อาจารย์จะมาสนทนาเกี่ยวกับเรื่องของ หัวใจของพระพุทธศ....
ไตรสิกขาเพชรบุรี - Trisikkha Petchaburi
ไตรสิกขาเพชรบุรี - Trisikkha Petchaburi17 hours ago
6 พฤษภาคม ทำวัตรเย็นร่วมกันครับ คลิกวิดีโอนี้เพื่ออ่านบทสวดมนต์ตาม
ทำวัตรเย็นวันที่หนึ่ง
ไตรสิกขาเพชรบุรี - Trisikkha Petchaburi
ทำวัตรเย็น วันที่ ๑
--- 00:00 คำนำทำวัตรปฏิบัติ00:47 ▸คำบูชาพระรัตนตัย06:57 พุทธานุสสติ08:54 พุทธาภิคีติ13:33 ธัมมานุสสติ14:47 ธัมมาภิคีติ19:24 สังฆาน.....
ไตรสิกขาเพชรบุรี - Trisikkha Petchaburi
ไตรสิกขาเพชรบุรี - Trisikkha Petchaburi1 day ago
6 พฤษภาคม ทำวัตรเช้าร่วมกันครับ คลิกวิดีโอนี้เพื่ออ่านบทสวดมนต์ตาม
ทำวัตรเช้าวันที่หนึ่ง
ไตรสิกขาเพชรบุรี - Trisikkha Petchaburi
ทำวัตรเช้า วันที่ ๑
--- 00:00 คำนำทำวัตรปฏิบัติ01:42 ▸ทำวัตรเช้า03:21 ปุพพภาคนมการ04:56 พุทธาภิถุติ09:03 ธัมมาภิถุติ10:45 สังฆาภิถุติ13:51 รตนัตตยัปปณ.....
ไตรสิกขาเพชรบุรี - Trisikkha Petchaburi
ไตรสิกขาเพชรบุรี - Trisikkha Petchaburi2 days ago
สัปดาห์นี้ เตรียมพบกันในไลฟ์สด บรรยายธรรม และ สนทนาธรรม ค่ะ กับ อ. วิลลี่ กันนะคะ

📢 FB Live ธรรมะเพื่อความพ้นทุกข์ ทางเฟซบุ้ค “กลุ่มไตรสิกขา”

วันพุธ ที่ 7 พฤษภาคม 2568 นี้
ในหัวข้อ "สมาธินำปัญญา"

วันเสาร์ ที่ 10 พฤษภาคม 2568 นี้
ในหัวข้อ "อิทธิบาท 4"
เวลา 20:00 น. ไทย หรือ US EDT 9:00 AM

💫 กำหนดการไลฟ์สด
20:00 น. ไทย (9:00 AM EDT)
อาจารย์วิลลี่ นำนั่งสมาธิ ฝึกจิตให้มีสติ และอยู่กับปัจจุบัน
20:30 น. ไทย (9:30 AM EDT)
บรรยายธรรม สนทนาธรรม ถามตอบธรรมมะ
22:00 น. ไทย (11:00 AM EDT)
จบไลฟ์

หากยังไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่ม กรุณาทำตามขั้นตอน
👉 วิธีเข้าร่วม:
กดขอเข้าร่วมกลุ่มเฟซบุ้ค FB Group
“กลุ่มไตรสิกขา”
1 >> คลิก 👇 https://www.facebook.com/groups/239332620582224
2>> ตอบคำถามให้ครบทุกข้อ
3>> กดขอเข้าร่วมกลุ่ม
ไตรสิกขาเพชรบุรี - Trisikkha Petchaburi
ไตรสิกขาเพชรบุรี - Trisikkha Petchaburi2 days ago
5 พฤษภาคม ทำวัตรเย็นร่วมกันครับ คลิกวิดีโอนี้เพื่ออ่านบทสวดมนต์ตาม
ทำวัตรเย็นวันที่ห้า
ไตรสิกขาเพชรบุรี - Trisikkha Petchaburi
ทำวัตรเย็น วันที่ ๕
--- 00:00 คำนำทำวัตรปฏิบัติ00:37 ▸คำบูชาพระรัตนตรัย06:46 พุทธานุสสติ08:43 พุทธาภิคีติ13:23 ธัมมานุสสติ14:37 ธัมมาภิคีติ19:13 สังฆา.....

คอร์สเนกขัมมะที่เพชรบุรี

คอร์สเนกขัมมะที่ศูนย์ไตรสิกขาเพชรบุรีจัดขึ้นทุกปี ในช่วงที่ศูนย์เพชรบุรียังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง ทางวัดวังพุไทร เพชรบุรี ได้เอื้อเฟื้อสถานที่ในการจัดคอรสเนกขัมมะมาตลอดทุกปี เนื้อหาของคอรสเนกขัมมะครอบคลุมทั้งในส่วนของทฤษฏีและปฏิบัติ ผู้เข้าร่วมคอร์สแต่งกายสุภาพ รับศีลแปด และสวดมนต์ทำวัตรเช้าและเย็นเป็นเวลาหนึ่งชั่วโมง เวลาส่วนที่เหลือ นอกจากรับประทานอาหารเช้าและกลางวัน และสนทนาธรรมในช่วงเช้า จะมีเวลาให้ปฏิบัติเดินจงกรมและนั่งสมาธิสามช่วงในแต่ละวัน ในส่วนของทฤษฏีนั้นเนื้อหาแบ่งเป็นจิตสิกขา ศีลสิกขา และ ปัญญาสิกขา เป็นการเรียนการสอนโดยฆราวาสธรรม ในบรรยากาศสบายๆเป็นกันเอง ผู้ปฏิบัติจะมีโอกาสสอบถามข้อข้องใจ เพื่อมุ่งให้ผู้สนใจทราบถึงว่า เราปฏิบัติทำไม เพื่ออะไร และควรปฏิบัติอย่างไร หัวข้อที่สนทนาธรรม ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 อริยสัจ 4 ปฏิจจสมุปบาท มรรค 8 โพธิฌงค์ 7 วิสุทธิ 7 ฯลฯ

หากท่านใดสนใจทราบตารางเวลาของการจัดคอร์สเนกขัมมะที่เพชรบุรี กรุณาติดตามได้ที่หน้าปฏิทินกิจกรรมของศูนย์ไตรสิกขาเพชรบุรี